เครื่องอัดอากาศที่นิยมใช้ในระบบควบคุมด้วยลม (3)
เครื่องอัดอากาศที่นิยมใช้ในระบบควบคุมด้วยลม
เครื่องอัดอากาศ (Compressed air) เราแบ่งตามลักษณะตามหลักการอัดนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ แบบปริมาตรและแบบกังหัน ซึ่งแต่ละประเภทนั้นยังสามารถแบ่งออกได้อีกหลายชนิด โดยแต่ละชนิดมีหน้าที่เหมือนกันคือ อัดอากาศจากความดันปกติ (ความดันบรรยากาศ) ให้มีความดันสูง (ตามความต้องการ)
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเครื่องอัดอากาศที่นิยมใช้ในระบบควบคุมด้วยลม ซึ่งได้แก่
1. เครื่องอัดอากาศชนิดลูกสูบ (Piston Compressor Air, Reciprocating Compressor Air)
2. เครื่องอัดอากาศชนิดไดอะแฟรม (Diaphragm Compressor Air)
3. เครื่องอัดอากาศชนิดใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Compressor Air)
4. เครื่องอัดอากาศชนิดดสกรู (Screw Compressor Air)
5. เครื่องอัดอากาศชนิดใบพัดหมุน (Root Compressor Air)
6. เครื่องอัดอากาศชนิดกังหัน (Turbo Compressor Air)
1. เครื่องอัดอากาศชนิดลูกสูบ (Piston Compressor Air, Reciprocating Compressor Air)
2. เครื่องอัดอากาศชนิดไดอะแฟรม (Diaphragm Compressor Air)
สำหรับหัวข้อข้างต้นได้กล่าวไปแล้วในบทที่แล้ว http://thaimachanic.com/index.php?mod=article&sec=detail&id=76
3. เครื่องอัดอากาศชนิดใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Compressor Air)
4. เครื่องอัดอากาศชนิดสกรู (Screw Compressor Air)
สำหรับหัวข้อข้างต้นได้กล่าวไปแล้วในบทที่แล้ว http://thaimachanic.com/index.php?mod=article&sec=detail&id=84
5. เครื่องอัดอากาศชนิดใบพัดหมุน (Root Compressor Air)
เครื่องอัดอากาศชนิดนี้จะประกอบไปด้วยใบพัดสองใบอยู่บนเพลา และมีเฟืองอยู่บนเพลาทั้งสอง(ขบกันอยู่) โดยเพลาตัวหนึ่งจะเป็นตัวขับจากแหล่งต้นกำลัง ทำให้ใบพัดทั้งสองหมุนดูดอากาศทางด้านเข้าและส่งออกทางด้านออก (แรงอัดจะได้จากแรงต้านของอากาศอีกด้านหนึ่ง)
รูปที่ 1 แสดงการทำงานของเครื่องอัดอากาศชนิดใบพัดหมุน (Root Compressor Air) (ที่มา http://www.cnczone.com)
รูปที่ 2 แสดงการชิ้นส่วนของเครื่องอัดอากาศชนิดใบพัดหมุน (Root Compressor Air) (ที่มา http://engineering.indiabizclub.com )
Clip แสดงลักษณะการทำงานของเครื่องอัดอากาศชนิดใบพัดหมุน (Root Compressor Air)
6. เครื่องอัดอากาศชนิดกังหัน (Turbo Compressor Air)
เครื่องอัดอากาศชนิดนี้อากาศจะถูกดูดเข้าบริเวณตรงกลางของเครื่องอัด หลังจากนั้นจะถูกเหวี่ยงไปตามครีบของตัวใบพัด ทำให้อากาศถูกรีดให้มีปริมาตรเล็กลง (เป็นผลมีความดันสูงขึ้น) ออกทางบริเวณรอบๆของเรือนเครื่องอัดส่งต่อไปยังท่อทางออกต่อไป
รูปที่ 3 แสดงการชิ้นส่วนของเครื่องอัดอากาศชนิดกังหัน (Turbo Compressor Air) (ที่มา http://www.energy.siemens.com)
รูปที่ 4 แสดงการชิ้นส่วนเครื่องอัดอากาศชนิดกังหัน (Turbo Compressor Air) (ที่มา http://www.energy.siemens.com)
Clip แสดงลักษณะการทำงานของเครื่องอัดอากาศชนิดกังหัน (Turbo Compressor Air)
ที่มา YouTube/Centrifugal Compressor Principles - Sample
BY: Prefix
ระบบท่อ Piping System