ส่วนประกอบและหน้าที่ของอุปกรณ์ใน ระบบปรับอากาศรถยนต์

ส่วนประกอบและหน้าที่ของอุปกรณ์ใน ระบบปรับอากาศรถยนต์


หมวดหมู่:ระบบปรับอากาศรถยนต์ Car Air Conditioning วันที่:2012-07-08

 

ส่วนประกอบและหน้าที่ของอุปกรณ์ใน ระบบปรับอากาศรถยนต์
                ระบบปรับอากาศรถยนต์ คือ การทำอากาศภายในห้องโดยสารเป็นไปตามความต้องการ ซึ่งคำว่าปรับอากาศนั้นก็คือการปรับอุณหภูมิให้แตกต่างกันระหว่างภายนอกและภายในห้องโดยสาร อาจจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ ( แต่สำหรับบ้านเรามีฤดูร้อนกับฤดูร้อนสิบ….) ดังนั้นจึงขอกล่าวเฉพาะการปรับอากาศที่ปรับอุณหภูมิลดลง

 

ที่มา http://www.royalairgas.com/Airknowledge/Html/Airknowledge.html

 

                ส่วนประกอบของระบบปรับอากาศรถยนต์

1.คอมเพรสเซอร์ ( Compressor )

2.คอนเดนเซอร์ ( Condenser )

3.รีซีฟเวอร์ไดเออร์  ( Receive-Dryer )

4.เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve)

5.อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)

6.ระบบท่อและข้อต่อ (Pipes and fittings)

7.ระบบไฟฟ่าควบคุม (Electrical control systems)

8.สารทำความเย็น (Refrigerant)

 

                                หน้าที่ของส่วนประกอบในระบบปรับอากาศรถยนต์

1.คอมเพรสเซอร์ ( Compressor )  มีหน้าที่ ดูดและอัดสารความเย็น ที่มีความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ ในสถานะแก๊ส (จากอีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)) ให้มีความดันสูง อุณหภูมิสูง ในสถานะแก๊ส (ไปยังคอนเดนเซอร์ ( Condenser ))

2.คอนเดนเซอร์ ( Condenser )  มีหน้าที่ รับสารความเย็นที่มีความดันสูง อุณหภูมิสูง ในสถานะแก๊ส (จากคอมเพรสเซอร์( Compressor )) โดยมีการระบายความร้อนซึ่งเป็นผลให้สารความเย็นมีอุณหภูมิต่ำลง ในสถานะของผสม (แก๊สผสมของเหลว) (ไปยังรีซีฟเวอร์ไดเออร์  ( Receive-Dryer ))

3.รีซีฟเวอร์ไดเออร์  ( Receive-Dryer ) มีหน้าที่ กรองสิ่งสกปรก ดูดความชื้น ในสารความเย็น ที่ถูกส่งมา (จาก คอนเดนเซอร์ ( Condenser ))  สารทำความเย็นที่ออกจะอยู่ในสถานะของเหลว 100 % (ไปยังเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve))

4.เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve)  มีหน้าที่  ลดความดันและควบคุมปริมาณของสารความเย็น ที่ถูกส่ง (ไปยังรีซีฟเวอร์ไดเออร์  ( Receive-Dryer )) สารทำความเย็นที่ออกจะอยู่ในสถานะแก๊ส ความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ ไปยัง (อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator))

5.อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)  มีหน้าที่  รับความร้อนจากสิ่งต่างๆในห้องโดยสารให้แก่สารความเย็น ที่ (มาจากเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve)) ซึ่งสารทำความเย็นที่ออกจะอยู่ในสถานะแก๊ส ความดันต่ำ อุณหภูมิสูง และส่งต่อ (ไปยังคอมเพรสเซอร์( Compressor ))

6.ระบบท่อและข้อต่อ (Pipes and fittings) มีหน้าที่ เชื่อมต่อระว่างอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบ

7.ระบบไฟฟ่าควบคุม (Electrical control systems)มีหน้าที่ ควบคุมการทำงานในระบบ เช่น คอมเพรสเซอร์ สวิทช์ความดัน โบล์เวอร์ เป็นต้น

8.สารทำความเย็น (Refrigerant) มีหน้าที่ เป็นตัวกลางที่รับและถ่ายเทความร้อน การเปลี่ยนแปลงทั้งอุณหภูมิและความดันในอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ

 

 รูปที่ 1. คอมเพรสเซอร์ ( Compressor )

 
 

 

รูปที่ 3.รีซีฟเวอร์ไดเออร์  ( Receive-Dryer )

ที่มา http://street-burn.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=17

 

 รูปที่ 4.เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve)

ที่มา http://a-s-air.blogspot.com/view/classic?z

 

รูปที่ 5.อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)

 
รูปที่ 6. ระบบไฟฟ่าควบคุม (Electrical control systems) ที่นี้คือ โบล์เวอร์
ที่มา http://www.facebook.com/cs.supply
 
 
รูปที่ 7. สารทำความเย็น (Refrigerant)
ที่มา httpwww.plazathai.comtag-134a.html
 
 
BY…BIGBEHM