ระบบไฟฟ้าในงานปรับอากาศรถยนต์ 1

ระบบไฟฟ้าในงานปรับอากาศรถยนต์ 1


หมวดหมู่:ระบบปรับอากาศรถยนต์ Car Air Conditioning วันที่:2014-06-04

ระบบไฟฟ้าใน งานปรับอากาศรถยนต์
 

       ระบบไฟฟ้าใน งานปรับอากาศรถยนต์ มีการควบคุมด้วยกันหลากหลายแบบด้วยกัน ในที่นี้ขอกล่าวถึง ของวงจรไฟฟ้าใน งานปรับอากาศรถยนต์ พื้นฐาน เท่านั้น และอุปกรณ์แต่ละชนิดก็มีหลายหลายแบบเหมือนกัน (รายละเอียดจะกล่าวถึงในตอนต่อไป)
      วงจรไฟฟ้าใน งานปรับอากาศรถยนต์จะมีการควบคุมหลักๆ คือ
1.ความเร็วของโบล์เวอร์
2.อุณหภูมิในห้องโดยสาร
 

 

รูปแสดงวงจรไฟฟ้าใน งานปรับอากาศรถยนต์พื้นฐาน

                ส่วนประกอบหลักๆของวงจรไฟฟ้าใน งานปรับอากาศรถยนต์พื้นฐานคือ
      1.สวิทช์พัดลม (SW.FAN) ทำหน้าที่ รับกระแสไฟจาก (RELEY)  จ่ายไปยังตัวต้านทาน (RESISTOR) ในตำแหน่งต่างๆ และสวิทช์ควบคุมอุณหภูมิ (SW.TEMP.)
      2.ตัวต้านทาน (RESISTOR) ทำหน้าที่ รับกระแสไฟจากสวิทช์พัดลม (SW.FAN) จ่ายไปมอเตอร์โบล์เวอร์ (จ่ายมาก-น้อยขึ้นอยู่กับการปรับสวิทช์พัดลม (SW.FAN))
      3.สวิทช์ควบคุมอุณหภูมิ (SW.TEMP.) ทำหน้าที่ รับกระแสไฟจากสวิทช์พัดลม (SW.FAN) จ่ายไปคลัทช์แม่เหล็กของคอมเพรสเซอร์ (MAGNETIC CLUTH) โดยที่ตัวของสวิทช์ควบคุมอุณหภูมิ (SW.TEMP.) จะมีเซนต์เซอร์หรือกระเปาะรับอุณหภูมิ (แล้วแต่ละชนิด) จะติดที่ตัวอีวาโปเรเตอร์  (ถ้าอุณหภูมิถึงที่กำหนด ตัวของสวิทช์ควบคุมอุณหภูมิ (SW.TEMP.) จะตัดกระแสไฟที่จ่ายไปคลัทช์แม่เหล็กของคอมเพรสเซอร์ และจะต่อใหม่เมื่ออุณหภูมิในห้องโดยสารเพิ่มขึ้น) โดยจะมีการตัดต่อนานมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่ที่เราปรับสวิทช์ควบคุมอุณหภูมิ (SW.TEMP.) ด้วย
      4.คลัทช์แม่เหล็กคอมเพรสเซอร์ (MAGNETIC CLUTH) ทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของตัวคอมเพรสเซอร์ (โดยการควบคุมของสวิทช์ควบคุมอุณหภูมิ (SW.TEMP.)


รูปแสดงวงจรไฟฟ้าใน งานปรับอากาศรถยนต์พื้นฐาน (ขณะความเร็วของโบล์เวอร์ต่ำ ; ลมเบา)


            จากรูปเราเปิดสวิทช์กุญแจ (IG.SW) กระแสไฟจากแบตเตอรี่ (BATTERY) จะผ่านฟิวส์หลัก แยกออกเป็น 2 ทาง
1.ผ่านฟิวส์ - ผ่านสวิทช์กุญแจ (IG.SW) เข้ายังขดลวดของ RELEY ลงการ์ว (GROUND) เกิดการเหนี่ยวนำดึงหน้าสัมผัสในตัว RELEY ติดกัน
2.ผ่านฟิวส์เข้ายังหน้าสัมผัสในตัว RELEY ผ่านไปยังสวิทช์พัดลม (SW.FAN)
           ตอนนี้เราเปิดสวิทช์พัดลม (SW.FAN) อยู่ในตำแหน่งเบา (L)กระแสไฟแยกออกเป็น 2 ทาง
1.ผ่านตัวต้านทาน  (RESISTOR) จำนวน 2 ตัว ไปยังมอเตอร์โบล์เวอร์ลงการ์ว (GROUND) ทำให้มอเตอร์หมุน (กระแสไฟที่จ่ายให้แก่มอเตอร์โบล์เวอร์จะน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับตำแหน่งอื่น)
2.ผ่านไปยังสวิทช์ควบคุมอุณหภูมิ (SW.TEMP.) เมื่อเราเปิดสวิทช์ควบคุมอุณหภูมิ (SW.TEMP.) กระแสไฟจะถูกจ่ายไปยังคลัทช์แม่เหล็ก(ขดลวด) (MAGNETIC CLUTH) ลงการ์ว (GROUND) ทำให้แผ่นคลัทช์ถูกดูดติดกับพูเลย์ ส่งผลให้ตัวคอมเพรสเซอร์ทำงาน

 

รูปแสดงวงจรไฟฟ้าใน งานปรับอากาศรถยนต์พื้นฐาน (ขณะความเร็วของโบล์เวอร์ปานกลาง )
 

                  เมื่อเราปรับสวิทช์พัดลม (SW.FAN) อยู่ในตำแหน่งปานกลาง (M) กระแสไฟจะผ่านตัวต้านทาน  (RESISTOR) จำนวน 1 ตัว เป็นผลให้กระแสที่จ่ายไปยังมอเตอร์โบล์เวอร์มาขึ้น มอเตอร์หมุนเร็วขึ้น  ส่วนการทำงานอย่างอื่นยังคงเหมือนเดิม 

รูปแสดงวงจรไฟฟ้าใน งานปรับอากาศรถยนต์พื้นฐาน (ขณะความเร็วของโบล์เวอร์สูงสุด )
 

           เมื่อเราปรับสวิทช์พัดลม (SW.FAN) อยู่ในตำแหน่งสูงสุด (H) กระแสไฟจะไม่ผ่านตัวต้านทาน  (RESISTOR) เป็นผลให้กระแสที่จ่ายไปยังมอเตอร์โบล์เวอร์มาขึ้น มอเตอร์หมุนเร็วขึ้น ส่วนการทำงานอย่างอื่นยังคงเหมือนเดิม


BY...BIGGLEM