ค่าตัวเลขในตารางเหล็กมาจากไหน EP. 1

ค่าตัวเลขในตารางเหล็กมาจากไหน EP. 1


หมวดหมู่:วัสดุช่าง วันที่:2021-06-05

 ค่าตัวเลขในตารางเหล็กมาจากไหน EP. 1


            ค่าตัวเลขในตารางเหล็กนั้นเป็นค่าที่เราสามารถนำประกอบ สำหรับการคำนวณหาค่าส่วนต่างๆในการออกแบบ ซึ่งง่ายต่อการใช้ซึ่งเราไม่ต้องมานั่งคำนวณหาค่านั้นๆ ในนี้เราจะไปค้นหาค่าตัวเลขเหล่านั้นกัน
จากรูปของตารางเหล็ก จะยกตัวอย่างเป็นเหล็กหน้าตัดตัว H (H-Sections) ขนาด 100 x 100 มม.  ในรูปจะมีค่าบอกมาดังนี้
 
Nominal Size (mm.) = ชื่อเรียกทั่วไป ในที่นี่คือ 100 x 100 mm.
Weight (kg/m) = น้ำหนักต่อเมตร ในที่นี่คือ 17.2 kg./m.
Sectional Dimension (mm.) = ค่าต่างๆของตามหน้าตัดของเหล็ก ในหน่วย มิลลิเมตร
 
 
Sectional Area (cm.^2) = พื้นที่หน้าตัด ในที่นี่คือ 21.9 cm.
Moment of Inertia (cm.^4) = โมเมนต์ความเฉื่อย ในที่นี่ Ix คือ 383 cm.4 และ Iy คือ 134 cm.4
Radius of Gyration (cm.) = รัศมีใจเรชั่น ในมี่นี่ rx คือ 4.2 cm. และ ry คือ 2.47 cm.
Modulus of Section  (cm.^3) = ในที่นี่  zx คือ 77 cm.3 และ zy คือ 27 cm.3
 
Step 1 เราจะหา Sectional Area (พื้นที่หน้าตัด) 
 
 
เราสามารถแบ่งรูปออกเป็น 7 รูป คือ a,b,c,d,e,f,g โดยการหาพื้นที่ๆแบ่งแล้วนำมารวมกัน
 
  Sectional Area = Aa + Ab + Ac + Ad + Ae + Af + Ag
 
          -หาพื้นที่ Aa จากรูป เราจะเห็นว่า Aa = Ag
(ต้องเปลี่ยนหน่วยจาก mm. เป็น cm ก่อน)  ดังนั้น Aa     = 10 x 0.8 = 8 cm.2
 
         -หาพื้นที่ Ac            = 0.6 x 8.4 = 5.040 cm.2
 
         -หาพื้นที่ Ab จากรูป เราจะเห็นว่า Ab = Ad = Ae = Af
 เมื่อ สูตรการหาพื้นที่ Ab = (1-π/4)r2
             = (1-π/4)x 12  = 0.215 cm.2

         Sectional Area = 8.000 + 0.215 + 5.040 + 0.215 + 0.215 + 0.215 +8.00 = 21.9 cm.2
 
 
Step 2 เราจะหา Weight (kg/m) (น้ำหนักต่อเมตร)
 
จาก   
 

ดังนั้น                                                                 m = ρV
  เมื่อคิดน้ำหนักต่อเมตร เราจะได้
                                                 m = ρA
 
 
ρ = ความหนาแน่นของเหล็ก มีค่าเท่ากับ 7,850  kg/m3
A = Sectional Area = 21.9 cm.2= 0.00219 m2
 
         Weight (น้ำหนักต่อเมตร) =  7,850 x 0.00219  = 17.19 kg/m

สำหรับค่า
Moment of Inertia (cm.4) = โมเมนต์ความเฉื่อย ในที่นี่ Ix คือ 383 cm.4 และ Iy คือ 134 cm.4
Radius of Gyration (cm.) = รัศมีใจเรชั่น ในมี่นี่ rx คือ 4.2 cm. และ ry คือ 2.47 cm.
Modulus of Section  (cm.3) = ในที่นี่  zx คือ 77 cm.3 และ zy คือ 27 cm.3
จะขอกล่าวในครั้งต่อไป