ค่าไฟฟ้าคิดอย่างไง

ค่าไฟฟ้าคิดอย่างไง


หมวดหมู่:ระบบไฟฟ้า Electrical System วันที่:2020-09-18

ค่าไฟฟ้าคิดอย่างไง


             หลายคนคงสงสัยว่าค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายกันทุกๆเดือนนั้นเขาคิดกันอย่างไง เพื่อเข้าใจกันง่ายๆจะยกตัวอย่างจากบิลค่าไฟฟ้าซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

1 = เลขอ่านครั้งหลัง คือ หน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มีการอ่านจากมิเตอร์ที่หน้าบ้านเราในเดือนล่าสุด ในที่นี้คือ 9817
2 = เลขอ่านครั้งก่อน คือ หน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มีการอ่านจากมิเตอร์ที่หน้าบ้านเราในเดือนก่อนหน้า ในที่นี้คือ 9613
3 = จำนวนหน่วย คือ หน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เราในภายในเดือน ในที่นี้คือ 9817 – 9613 = 204 หน่วย
4 = ประเภทของการใช้ไฟฟ้า โดยจะมีข้อกำหนดของการไฟฟ้าซึ่งจะรวมไปถึงค่าพลังงานไฟฟ้า (ใน 5) และค่าบริการ (ใน 6) ซึ่งรายละเอียดแสดงดังรูป

 


5 = ค่าพลังงานไฟฟ้า หรือค่าไฟฟ้านั้นเอง ในที่นี้คือ 746.9 บาท ซึ่งมาจากประเภทที่เราใช้คือ 1.1 โดยที่ 746.9 บาทนั้นมาจากอัตราค่าไฟฟ้าคูณกับหน่วยที่ใช้ (ไล่เป็นลำดับขั้น) และจำนวนหน่วยที่เราใช้คือ 204 หน่วย จึงมีการคิดค่าไฟฟ้าได้ดังนี้

 

6 = ค่าบริการ ในที่นี้คือ 8.91 บาท ซึ่งมาจากประเภทที่เราใช้คือ 1.1
7 = ค่าไฟฟ้าแปรผัน ( Ft ) รวม ในที่นี้คือ (-0.1160 ) x 204 = -23.66 บาท
8 = ค่าไฟฟ้าแปรผัน ( Ft ) ในที่นี้คือ -0.1160 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะถูกกำนดโดยการไฟฟ้าทุกๆ 4 เดือน โดยเราสามารถเข้าไปดูในเว๊บไซด์ของการไฟฟ้าได้ที่ https://www.pea.co.th

 


9 = ค่าไฟฟ้าก่อนรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ในที่นี้คือ 746.90 + 8.19 – 23.66 = 731.43 บาท
10 = ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ในที่นี้คือ 731.43 x 7 % = 51.20 บาท
11 = ค่าไฟฟ้ารวมในเดือนปัจจุบัน ในที่นี้คือ 731.43 + 51.20 = 782.63 บาท


12 = ประวัติการใช้ไฟฟ้า
            จากบิลค่าไฟจะเห็นว่า หน่วยการใช้ไฟฟ้าในเดือน
07/63 = 175 หน่วย
08/63 = 241 หน่วย
09/63 = 204 หน่วย (เดือนปัจจุบัน)
         ซึ่งจะขึ้นอยู่ในข้อกำหนดที่ต้องเปลี่ยนประเภทจาก ประเภท 1.1 เป็น ประเภท 1.2 ในเดือนต่อไป (รายละเอียดตรงหมายเหตุ)