ส่วนประกอบสายลำเลียงแบบข้างมีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบสายลำเลียงแบบข้างมีอะไรบ้าง


หมวดหมู่:สายพานลำเลียง Belt conveyor วันที่:2020-08-24

ส่วนประกอบสายลำเลียงแบบข้างมีอะไรบ้าง

         ส่วนประกอบสายลำเลียงแบบข้าง (Sidewell Belt Conveyor) มีอยู่หลายส่วนด้วยกันขึ้นอยู่กับประเภทของสายพานลำเลียง โดยซึ่งทั่วๆไปจะมีส่วนประกอบหลักๆที่เหมือนกันคือ

 


         1.Tail Pulley (ลูกกลิ้งท้าย) จะเป็นตัวรั้งสายพานให้ตึงโดยจะมีสกูรปรับความตึง (Take-up) โดยเพลาทั้ง 2 ข้างจะสวมอยู่ในชุดลูกปืนที่ยึดติดกับโครงสายพานลำเลียง
         2.Carrying Idlers (ลูกกลิ้งรองสายพานด้านรับวัสดุ) จะติดตั้งบนโครงสายพานลำเลียงเพื่อรองรับสายพานลำเลียงและวัสดุ (จะมีลักษณะเหมือนลูกกลิ้ง Return ในสายพานลำเลียงแบบหน้าเรียบ) บางครั้งก็จะหุ้มด้วยยางเพื่อลดการกระแทกของวัสดุที่จ่ายเข้ามา โดยจะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ลูกกลิ้งกันกระแทก (Impact Idlers)
       

        3. Upturn Deflection (ล้อกดสายพานบน) จะติดตั้งตรงจุดที่เปลี่ยนการเคลื่อนที่ของสายพานลำเลียงจากแนวนอนไปแนวดิ่ง เพื่อบังคับทิศทางของสายพานลำเลียงและเพิ่มความตึงไปในตัวด้วยโดยเพลาทั้ง 2 ข้างจะสวมอยู่ในชุดลูกปืนที่ยึดติดกับโครงสายพานลำเลียง ล้อกดสายพานจะกดที่บริเวณด้านบนของขอบสายพานลำเลียง
        4. Belt (สายพานลำเลียง) จะเป็นตัวลำเลียงวัสดุจากจุดรับไปยังจุดปล่อย โดยอาศัยการเคลื่อนที่จากชดุขับ ซึ่งเนื้อสายพานลำเลียงจะประกอบไปด้วย
- Base Belt (เนื้อสายพานลำเลียง) จะเป็นตัวรองรับและพาวัสดุในการลำเลียง
-Sidewell (ปีกสายพาน) จะเป็นตัวป้องกันไม่ให้วัสดุตกหล่นออกด้านข้างระหว่างการลำเลียง
-Cleats (ใบพา) จะเป็นตัวพาวัสดุไปบนเนื้อสายพานลำเลียงโดยเฉพาะในแนวดิ่ง
-Edge magin (ขอบสายพาน) จะเป็นส่วนที่รองรับส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อให้สายพานลำเลียงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ล้อกดสายพาน

 


        5.Guiding Wheels (ล้อกันสไลด์) จะติดตั้งที่โครงสายพานลำเลียงโดยตัวล้อจะสัมผัสกับด้านข้างของขอบสายพานทั้งซ้าย-ขวา เพื่อป้องกันการสไลด์ของสายพานลำเลียง
        6. Top Deflection Curve (ลูกกลิ้งรับแนวโค้งบน) จะติดตั้งตรงจุดที่เปลี่ยนการเคลื่อนที่ของสายพานลำเลียงจากแนวดิ่งไปแนวนอน เพื่อบังคับทิศทางของสายพานลำเลียง จะมีลักษณะเหมือนลูกกลิ้ง Carrying Idlers

 


         7.Drive Pulley (ลูกกลิ้งหัว) จะเป็นตัวฉุดสายพานลำเลียงให้เคลื่อนที่ โดยเพลาทั้ง 2 ข้างจะสวมอยู่ในชุดลูกปืนที่ยึดติดกับโครงสายพานลำเลียง ซึ่งเพลาด้านหนึ่งจะต่อกับชุดขับ (มอเตอร์เกียร์หรือ มอเตอร์และเกียร์ทด) บางครั้งจะมีการหุ้มยางเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานในการฉุดสายพานลำเลียง
        8. Belt Cleaning (ตัวทำความสะอาดสายพาน) จะปัดสิ่งสกปรกหรือวัสดุที่หลุดจากการลำเลียงออกจากเนื้อสายพาน
        9.Carrying Idlers (ลูกกลิ้งรองสายพานด้านรับวัสดุ) ซึ่งชุดนี้จะติดตั้งระหว่างลูกกลิ้งรับแนวโค้งกับลูกกลิ้งหัว เพื่อรองรับสายพานลำเลียงและวัสดุก่อนที่วัสดุจะถูกจ่ายออกที่ลูกกลิ้งหัว

 


         10. Downturn Deflection (ล้อกดสายพานล่าง) จะติดตั้งตรงจุดที่เปลี่ยนการเคลื่อนที่ของสายพานลำเลียงจากแนวดิ่งไปแนวนอน เพื่อบังคับทิศทางของสายพานลำเลียงและเพิ่มความตึงไปในตัวด้วยโดยเพลาทั้ง 2 ข้างจะสวมอยู่ในชุดลูกปืนที่ยึดติดกับโครงสายพานลำเลียง
        11. Guiding Wheels (ล้อกันสไลด์) จะติดตั้งที่โครงสายพานลำเลียงโดยตัวล้อจะสัมผัสกับด้านข้างของขอบสายพานทั้งซ้าย-ขวา เพื่อป้องกันการสไลด์ของสายพานลำเลียง
        12. Bottom Deflection Curve (ลูกกลิ้งรับแนวโค้งล่าง) จะติดตั้งตรงจุดที่เปลี่ยนการเคลื่อนที่ของสายพานลำเลียงจากแนวดิ่งไปแนวนอน เพื่อบังคับทิศทางของสายพานลำเลียง จะมีลักษณะเหมือนลูกกลิ้งท้าย
        13.Return Idlers (ลูกกลิ้งรองสายพานด้านกลับ) มีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะคือ
-Stub idlers ตัวลูกกลิ้งจะรับน้ำหนักบริเวณด้านบนของขอบสายพานลำเลียง
-Full idlers ตัวลูกกลิ้งจะรับน้ำหนักบริเวณปีกของสายพานลำเลียง

 

 

       14.Drive Unit (ชุดขับ) เป็นแหล่งต้นกำลังในการขับเคลื่อนชุดสายพานลำเลียง โดยจะติดตั้งที่โครงสายพาน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับลูกกลิ้งหัว ชุดขับส่วนใหญ่ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 แบบ คือ มอเตอร์เกียร์หรือ มอเตอร์และเกียร์ทด (มอเตอร์แยกจากเกียร์ทด)