ท่อและข้อต่อ (Hose and Fitting)

ท่อและข้อต่อ (Hose and Fitting)


หมวดหมู่:ระบบปรับอากาศรถยนต์ Car Air Conditioning วันที่:2014-09-14

 ท่อและข้อต่อ (Hose and Fitting)
 

                  ท่อและข้อต่อในระบบปรับอากาศรถยนต์นั้น มีหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างในระบบเข้าด้วยกัน

 รูปแสดงวงจรของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (ที่มา http://www.royalairgas.com )
 

             อันดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่าท่อและข้อต่อนั้นเป็นคนละส่วนกัน (แต่ในความเป็นจริงจะอยู่ในชุดเดียวกัน) กล่าวคือ ท่อจะเป็นตัวที่ต่อเข้ากับข้อต่อก่อนทั้งสองด้าน (ไม่ว่าจะต่อลักษณะแบบไหนก็ตาม) จากนั้นตัวข้อต่อถึงจะยึดหรือต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบปรับอากาศรถยนต์

 รูปแสดงลักษณะท่อและข้อต่อ ( ที่มา http://carparts4sale.com)
 

               ท่อและข้อต่อในระบบปรับอากาศรถยนต์นั้น จะมีรูปร่าง หน้าตา แตกต่างกันไป ตามยี่ห้อ
รถ รุ่นของรถ ตลอดจนชนิดของสารความเย็นที่ใช้ในระบบนั้นๆ แต่เราพอที่จะจำแนกออกได้ดังนี้
ชนิดของท่อในระบบปรับอากาศรถยนต์
 

ท่อในระบบปรับอากาศรถยนต์สามารถจำแนกออกได้ 2 ชนิดคือ

              1.ท่ออ่อน มีโครงสร้างที่ทำมาจาก ยาง เส้นใย ยางไนเตท ไนลอน วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยที่ท่ออ่อนนี้จะแยกออกได้อีก 2 ชนิด (ตามชนิดของสารความเย็น) ยังไงก็ตามทั้ง 2 ชนิด ส่วนปลายของท่อยังมีการต่อกันข้อต่อที่เป็นโลหะเหมือนกัน (ส่วนมากการต่อจะเป็นแบบย้ำอัด)
 

 รูปแสดงลักษณะโครงสร้างของท่ออ่อน

 รูปแสดงลักษณะท่ออ่อนที่ต่อกับข้อต่อ ( ที่มา http://carparts4sale.com)


                 2.ท่อแข็ง จะทำมาจากโลหะ ส่วนมากจะเป็นประเภทอลูมิเนียม หรือทองแดง ซึ่งจะมีลักษณะทำสำเร็จมาจากโรงงาน (การต่อกับข้อต่อจะเป็นแบบเชื่อม) ส่วนที่มีการปรับแต่งหน้างานหรือมีการดัดหน้างาน (การต่อกับข้อต่อจะเป็นแบบบานท่อหรือแฟลร์ท่อ (flare))
 

รูปแสดงลักษณะท่อแข็งที่ต่อกับข้อต่อ  (ที่มา http://www.whiteracingproducts.com)
 

ชนิดของข้อต่อในระบบปรับอากาศรถยนต์


                ข้อต่อในระบบปรับอากาศรถยนต์สามารถจำแนกได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการงอโค้งของข้อต่อ แต่ในที่นี้จะจำแนกออกตามลักษณะหน้าสัมผัสของข้อต่อเท่านั้น (ไม่รวมถึงข้อต่อของวาล์วบริการ)โดยจำแนกได้ 4 ชนิดคือ


1.แบบโอ-ริ่ง สวมอยู่ด้านนอก มีทั้งที่เป็นตัวผู้ (O-Ring Male) และตัวเมีย (O-Ring Female) โดยการยึดติดเป็นแบบเกลียว
 

 

 รูปแสดงลักษณะข้อต่อแบบโอ-ริ่ง สวมอยู่ด้านนอก

 รูปแสดง O-Ring Male และ O-Ring Female (ที่มา  http://www.amazon.com)
 

2.แบบโอ-ริ่ง สวมอยู่ด้านใน เป็นตัวผู้ (Insert O-Ring Male) โดยการยึดติดเป็นแบบเกลียว
 

รูปแสดงลักษณะข้อต่อแบบโอ-ริ่ง สวมอยู่ด้านใน

  รูปแสดง Insert O-Ring Male (ที่มา http://www.acsource.com )

3.แบบการบานท่อ (Flare)  แบบนี้จะไม่ใช่โอ-ริ่ง มีทั้งที่เป็นตัวผู้ (Flare Male) และตัวเมีย (Flare Female)โดยการยึดติดเป็นแบบเกลียว

 รูปแสดงลักษณะข้อต่อแบบการบานท่อ (Flare) 
 

 รูปแสดงข้อต่อแบบการบานท่อ (Flare)  (ที่มา http://www.e-refrigeration.com)
4.แบบอัดล๊อค ข้อต่อแบบนี้จะอาศัยหน้าแปลนในการยึดท่อ ใช้โอ-ริ่ง มีทั้งที่เป็นตัวผู้ (Springlock Male) และตัวเมีย (Springlock  Female)
 

รูปแสดงลักษณะข้อต่อแบบอัดล๊อค

 รูปแสดงข้อต่อแบบ Springlock Male (ที่มา https://wbcindustrial.com)

รูปแสดงหน้าแปลนแบบต่าง ที่ยึดข้อต่อแบบอัดล๊อค ( ที่มา http://www.gasgoo.com

รูปแสดงบ่ารับข้อต่อแบบอัดล๊อค (ของเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว)

รูปแสดงหน้าแปลนแบบต่าง ที่ยึดข้อต่อแบบอัดล๊อค (ท่อกับเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว)


BY...BIGBLEM