เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve) 4

เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve) 4


หมวดหมู่:ระบบปรับอากาศรถยนต์ Car Air Conditioning วันที่:2013-12-04

 เอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบบล็อค ( Expansion Block Valve )


               เอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบบล็อค (Expansion Block Valve) จะแตกต่างจากเอ็กเพ็นชั่นวาล์วสองชนิดที่กล่าวมาคือ จะมีทางเข้า - ออก สี่ทางด้วยกัน แต่ยังคงทำหน้าที่เหมือนกับเอ็กเพ็นชั่นวาล์วสมดุลย์ภายในและภายนอก


รูปแสดง เอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบบล็อค (Expansion Block Valve)  (ที่มา http://www.autohausaz.com)
 
 

         ส่วนประกอบของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบบล๊อค

 

รูปแสดง ส่วนประกอบของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบล๊อค
 

               เอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบบล็อค จะมีทางเข้า - ออก สี่ทางด้วยกัน เอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบนี้จะไม่ท่อกระเปาะสารความเย็น (Capillary Tube) อีกด้วย


1.ตัวเรือน (Valve Body) เป็นที่ติดตั้งของส่วนประกอบอื่นๆ
2.ท่อทางเข้า (Inlet) จะต่อกับรีซีฟเวอร์ไดเออร์ (สารความเย็นเข้าในสถานะของเหลว 100 %)
3.ท่อทางออก (Outlet) ด้านหนึ่ง จะต่อกับอีวาโปเรเตอร์ (ทางเข้า)
4.ท่อทางเข้า (Inlet) อีกด้าน จะต่อกับอีวาโปเรเตอร์ (ทางออก)
5.ท่อทางออก (Outlet) ด้านหนึ่ง จะต่อกับคอมเพรสเซอร์ (ทางเข้า)
6. สปริง (Spring) ทำหน้าที่ ปิด-เปิดชุดลิ้น
5.ชุดลิ้น (Valve Set) จะประกอบไปด้วยลิ้น บ่าลิ้น กระเดื่องกดลิ้น ทำหน้าที่เปิด-ปิด เพื่อให้สารความเย็นผ่านไปยังท่อทางออก (ตัวที่เคลื่อนที่คือ ลิ้นและกระเดื่องกดลิ้น)
6.แผ่นไดอะแฟรม (Diapham) จะเป็นตัวแบ่งห้องของเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว โดยห้องด้านล่างจะมีช่องต่อเข้ากับท่อทางออกที่มาจากอีวาโปเรเตอร์และห้องด้านบนจะมีสารความเย็นบรรจุอยู่ ต่อกับกระเปาะสารความเย็น
7.กระเปาะสารความเย็น (Sensing Bulb) ภายในกระเปาะจะมีสารความเย็นบรรจุอยู่ (เชื่อมต่อกับห้องด้านบนของแผ่นไดอะแฟรม)
 

 

 รูปแสดง การติดตั้งเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบบล๊อคในระบบปรับอากาศรถยนต์ (ที่มา http://www.irv2.com)

 

                การทำงานของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบบล๊อค


              ในถ้านะ คนคุ้นเคย รวบยอดเลยนะครับ (จากสองชนิดครั้งก่อน ถ้าไม่ลืมกัน กระเปาะสารความเย็น จะเป็นพระเอกในงานนี้) ***ความดันแปรผกผันกับอุณหภูมิ*** 
 

รูปแสดง การทำงานของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบบล๊อค (ตอนเริ่ม หรือ อุณหภูมิภายในห้องโดยสารสูง)

            จากรูป เมื่อเราเริ่มเปิดระบบปรับอากาศในรถยนต์ ณ.ช่วงเวลานี้ อุณหภูมิภายในห้องโดยสารสูง (ประกอบกับสารความเย็นเพิ่งเข้าหมุนเวียนในระบบ) ทำให้ปริมาณของของสารความเย็นท่อทางเข้าของอีวาโปเรเตอร์ (ทางออก) ต่ำ และสารความเย็นในกระเปาะสารความเย็นเกิดการเดือด (ซึ่งต่อกับห้องด้านบนของแผ่นไดอะแฟรม) หรือขยายตัว (ความดันมาก) ส่งผ่านท่อก้านส่ง ไปดันชุดลิ้นเข้าชนะแรงดันของสปริง ทำให้ชุดลิ้นเปิด สารความเย็นจากท่อทางเข้าสามารถออกไปที่ท่อทางออก (ณ. จุดนี้ชุดลิ้นจะเปิดมาที่สุด)
 

รูปแสดง การทำงานของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบบล๊อค (อุณหภูมิภายในห้องโดยสารลดลง)

               จากรูป เมื่อเราเปิดระบบปรับอากาศในรถยนต์ไปสักระยะหนึ่ง อุณหภูมิภายในห้องโดยสารจะลดลง (สารความเย็นหมุนเวียนในระบบ) ทำให้แรงดันของท่อทางออกของอีวาโปเรเตอร์มีปริมาณมากขึ้น และสารความเย็นในกระเปาะสารความเย็นเกิดหดตัว (ความดันลด) แรงดันของสปริง จะดันชุดลิ้นให้เคลื่อนที่ขึ้น (ช่องว่างน้อยลง) สารความเย็นจากท่อทางเข้าก็มีปริมาณน้อยตามไปด้วย
 เมื่ออุณหภูมิภายในห้องโดยสารสูงขึ้นการทำงานก็จะกลับไปลักษณะเดิมอีกครั้ง
 

รูปแสดง การทำงานของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบบล๊อค

BY...BIGBLEM