เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve) 2

เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve) 2


หมวดหมู่:ระบบปรับอากาศรถยนต์ Car Air Conditioning วันที่:2013-10-02

เอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบสมดุลภายใน (Internal-equalizer Expansion Valve )

           เอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve) เป็นอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ที่จะเป็นตัวแยกความดันลงระบบ ซึ่งจะติดตั้งอยู่ระหว่าง รีซีฟเวอร์ไดเออร์ กับ อีวาโปเรเตอร์

 


รูปแสดงเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบสมดุลภายใน (Internal-equalizer ) (ที่มา
http://minkete.en.busytrade.com )
 

       ส่วนประกอบของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบสมดุลภายใน

 


รูปแสดงส่วนประกอบของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบสมดุลภายใน

1.ตัวเรือน (Valve Body) เป็นที่ติดตั้งของส่วนประกอบอื่นๆ
2.ท่อทางเข้า (Inlet) จะต่อกับรีซีฟเวอร์ไดเออร์ (สารความเย็นเข้าในสถานะของเหลว 100 %)
3.สกูรปรับสปริง (Adjust Screw) จะทำหน้าที่ปรับระยะยืดหรือหดของสปริง ซึ่งจะเป็นผลให้ช่องว่างของชุดลิ้นเปิดมากหรือน้อย (แต่ส่วนมากจะไม่มีการปรับ เพราะปรับตั้งมาจากโรงงานแล้ว)
4. สปริง (Spring) ทำหน้าที่ ปิด-เปิดชุดลิ้น
5.ชุดลิ้น (Valve Set) จะประกอบไปด้วยลิ้น บ่าลิ้น กระเดื่องกดลิ้น ทำหน้าที่เปิด-ปิด เพื่อให้สารความเย็นผ่านไปยังท่อทางออก (ตัวที่เคลื่อนที่คือ ลิ้นและกระเดื่องกดลิ้น)
6.แผ่นไดอะแฟรม (Diapham) จะเป็นตัวแบ่งห้องของเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว โดยห้องด้านล่างจะต่อเข้ากับชุดลิ้น
และห้องด้านบนจะมีสารความเยบรรจุอยู่ ต่อกับท่อกระเปาะสารความเย็น
7. ท่อกระเปาะสารความเย็น (Capillary Tube) จะเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างห้องของไดอะแฟรม (ด้านบน) กับกระเปาะสารความเย็น
8.กระเปาะสารความเย็น (Sensing Bulb) ภายในกระเปาะจะมีสารความเยบรรจุอยู่ โดยที่ตัวของกระเปาะจะถูกยึดติดกับท่อท่างออกของอีวาโปเรเตอร์
9.ท่อทางออก (Outlet) จะต่อกับอีวาโปเรเตอร์ (ทางเข้า)

 


รูปแสดงการติดตั้งเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบสมดุลภายในกับอีวาโปเรเตอร์ (ที่มา
www.clubjz.net)

 การทำงานของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบสมดุลภายใน

          แรงต่างๆที่ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหลของสารความเย็นของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบสมดุลภายในประกอบไปด้วย
1.แรงดันของสปริง (P1)
2.แรงดันของท่อทางเข้าของอีวาโปเรเตอร์ (P2)
3.แรงดันของกระเปาะสารความเย็น (P3)

 

รูปแสดงการทำงานของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบสมดุลภายใน (ตอนเริ่ม หรือ อุณหภูมิภายในห้องโดยสารสูง)
 

         จากรูป เมื่อเราเริ่มเปิดระบบปรับอากาศในรถยนต์ ณ.ช่วงเวลานี้ อุณหภูมิภายในห้องโดยสารสูง (ประกอบกับสารความเย็นเพิ่งเข้าหมุนเวียนในระบบ) ทำให้แรงดันของท่อทางเข้าของอีวาโปเรเตอร์ (P2) ต่ำ และสารความเย็นในกระเปาะสารความเย็น (P3) เกิดการเดือด (ขยายตัว) ส่งผ่านท่อกระเปาะสารความเย็น มายังห้องด้านบนของแผ่นไดอะแฟรม กดแผ่นไดอะแฟรม ไปดันชุดลิ้นเข้าชนะแรงดันของสปริง (P1) ทำให้ชุดลิ้นเปิด สารความเย็นจากท่อทางเข้าสามารถออกไปที่ท่อทางออก (ณ. จุดนี้ชุดลิ้นจะเปิดมาที่สุด)

P1 + P2 < P3

 

รูปแสดงการทำงานของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบสมดุลภายใน (อุณหภูมิภายในห้องโดยสารลดลง)

          จากรูป เมื่อเราเปิดระบบปรับอากาศในรถยนต์ไปสักระยะหนึ่ง อุณหภูมิภายในห้องโดยสารจะลดลง (สารความเย็นหมุนเวียนในระบบ) ทำให้แรงดันของท่อทางเข้าของอีวาโปเรเตอร์ (P2) มีแรงดันมากขึ้น และสารความเย็นในกระเปาะสารความเย็น (P3) เกิดหดตัว ทำให้มีแรงดันลดลง แรงดันของสปริง (P1) จะดันชุดลิ้นให้เคลื่อนที่ขึ้น (ช่องว่างน้อยลง) สารความเย็นจากท่อทางเข้าก็มีปริมาณน้อยตามไปด้วย

P1 + P2 > P3

          เมื่ออุณหภูมิภายในห้องโดยสารสูงขึ้นการทำงานก็จะกลับไปลักษณะเดิมอีกครั้ง

 


รูปแสดงการทำงานของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วแบบสมดุลภายใน

 

 

รายละเอียดต่างๆของเอ็กเพ็นชั่นวาล์วชนิดอื่นๆ ขอกล่าวในครั้งต่อไป
BY...BIGBLEM

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=fJ2UzF7DDJ4