คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (2)

คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (2)


หมวดหมู่:ระบบปรับอากาศรถยนต์ Car Air Conditioning วันที่:2012-08-03

คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์


             คอมเพรสเซอร์ ( Compressor )  มีหน้าที่ ดูดและอัดสารความเย็น ที่มีความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ ในสถานะแก๊ส (จากอีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)) ให้มีความดันสูง อุณหภูมิสูง ในสถานะแก๊ส (ไปยังคอนเดนเซอร์ ( Condenser ))

            คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์นั้นจะจำแนกออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. ชุดคลัทช์แม่เหล็ก   จะเป็นตัวควบคุมและต้นกำลังให้ตัวคอมเพรสเซอร์ทำงาน
2. ตัวคอมเพรสเซอร์ จะเป็นตัวดูดและอัดสารความเย็น โดยได้กำลังมาจากชุดคลัทช์แม่เหล็ก   
                                                                                                                             
          1.ชุดคลัทช์แม่เหล็ก   ได้กล่าวไว้ในบทก่อนคอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (1)
http://thaimachanic.com/index.php?mod=article&sec=detail&id=112
          2. ตัวคอมเพรสเซอร์ คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์นั้นแบ่งได้  3 ชนิดคือ
1. คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)
2. คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ( Swash plate Compressor)
3. คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ (Rotary Compressor)

                             คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)


          ส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)
ส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor) นั้นแสดงดังรูปที่ 5. และรูปที่ 6.
 

รูปที่ 5. แสดงส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor) (ที่มา http://www.4x4.in.th)

                    หน้าที่ของส่วนประกอบคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)

            จากรูปที่ 5. แสดงส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบจะขออธิบายในส่วนประกอบหลักๆเท่านั้น


            วาล์วบริการด้านส่ง (DISCHARGE SERVICE VAVLVE) ทำหน้าที่ ต่อกับท่อเพื่อส่งสารความเย็นไปยังคอนเดนเซอร์ (คอล์ยร้อน)  และ(จากรูปที่ 6. ด้านซ้ายมือยังใช้ต่อกับแมนนิโฟล์เกจ (เครื่องมือที่ใช้วัดความดัน ทำสุญญากาศ เติมสารความเย็น วิเคราะห์ปัญหาของระบบด้วยความดัน) ซึ่งกล่าวในต่อไป)
           วาล์วบริการด้านดูด (SUCTION SERVICE VAVLVE) ทำหน้าที่ ต่อกับท่อเพื่อส่งสารความเย็นจาอิวาโปเรเตอร์ (คอล์ยเย็น) และ(จากรูปที่ 6. ด้านซ้ายมือยังใช้ต่อกับแมนนิโฟล์เกจ (เครื่องมือที่ใช้วัดความดัน ทำสุญญากาศ เติมสารความเย็น วิเคราะห์ปัญหาของระบบด้วยความดัน) ซึ่งกล่าวในต่อไป)
           ฝาสูบ (CYLINDER HEAD) ทำหน้าที่ รับและส่งสารความเย็นผ่านชุดรีดวาล์ว (ขึ้นอยู่ว่าอยู่ในจังหวะไหน) และวาล์วเพลต (ถ้าพลิกดูด้านล่าง ฝาสูบ จะถูกแบ่งออกเป็นสองห้องคือห้องด้านดูดและอัด ห้องด้านนอกจะเป็นด้านดูด)
           รีดวาล์วด้านส่ง (DISCHARGE REED) ทำหน้าที่ ส่งสารความเย็นโดยมีวาล์วสต๊อปเปอร์อยู่ด้านบน (รูปที่ 6.) ซึ่งวาล์วสต๊อปเปอร์จะมีลักษณะแอ่นตัวขึ้นเพื่อให้รีดวาล์วด้านส่งเปิดได้ 
           วาล์วเพลต (VALVE PLATE) ทำหน้าที่ รับและส่งสารความเย็นมาจากฝาสูบผ่านชุดรีดวาล์ว เข้าหรือออกกระบอกสูบ โดยที่วาล์วเพลตนี้จะมีรูทะลุถึงกันซึ่งรูนี้จะถูกปิด-เปิด ด้วยชุดรีดวาล์ว 
           รีดวาล์วด้านดูด (SUCTION REED) ทำหน้าที่ ดูดสารความเย็นเข้ากระบอกสูบ
 

รูปที่ 6. แสดงส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor) (ที่มา http://www.4x4.in.th)

รูปที่ 7. แสดงส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor) (ที่มา http://www.free-ed.net)

                

               การทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)
 

รูปที่ 8. แสดงการทำงานในจังหวะดูดของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)
 

            จังหวะดูด ลูกสูบจะเลื่อนลงทำให้เกิดสูญญากาศในกระบอกสูบดูดรีดวาล์วด้านดูด(SUCTION REED) ให้เปิด สารความเย็นจะเข้ามาจากวาล์วบริการด้านดูด (SUCTION SERVICE VAVLVE) มายังฝาสูบ (CYLINDER HEAD) (ด้านนอก) ผ่านวาล์วเพลต (VALVE PLATE) (รูรอบนอก) และผ่านรีดวาล์วด้านดูด (SUCTION REED) เข้ามายังกระบอกสูบ (แสดงดังรูปที่ 8.)
            จังหวะอัด ลูกสูบจะเลื่อนขึ้นส่งผลให้รีดวาล์วด้านดูด(SUCTION REED) ปิด ผ่านรูที่วาล์วเพลต (VALVE PLATE) (รูรอบใน) ดันรีดวาล์วด้านส่ง (DISCHARGE REED) เปิด (การเปิดมากน้อยขึ้นอยูกับวาล์วสต๊อปเปอร์ว่ามีการแอ่นตัวเท่าไร) ออกไปยัง ฝาสูบ (CYLINDER HEAD) (ด้านใน) และถูกส่งออกไปยังวาล์วบริการด้านส่ง (DISCHARGE SERVICE VAVLVE) (แสดงดังรูปที่ 9.)

รูปที่ 9. แสดงการทำงานในจังหวะอัดของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)


สำหรับ คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต (Swash plate Compressor) และคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ (Rotary Compressor)รายละเอียดขอกล่าวในครั้งต่อไป
 
BY…BIGBEHM