ตรวจเช็คมอเตอร์ไฟฟ้าชนิด 1 เฟส 4 สาย อย่างไง

ตรวจเช็คมอเตอร์ไฟฟ้าชนิด 1 เฟส 4 สาย อย่างไง


หมวดหมู่:ระบบไฟฟ้า Electrical System วันที่:2022-03-04

ตรวจเช็คมอเตอร์ไฟฟ้าชนิด 1 เฟส 4 สาย อย่างไง


              มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด ซึ่ง ในที่นี้จะกล่าวถึง สปลิทเฟสมอเตอร์ (Split Phase Motor) เท่านั้น


           สปลิทเฟสมอเตอร์ (Split Phase Motor) นั้น จะมีขดลวดอยู่ด้วยกัน 2 ขด ( 4 สาย ) คือ
1.ขดลวดรัน (Run Winding) จะมีค่าความต้านทานต่ำ
2.ขดลวดสตาร์ท (Start Winding) จะมีค่าความต้านทานสูง

           ตรวจเช็คมอเตอร์ไฟฟ้าชนิด 1 เฟส 4 สายหรือสปลิทเฟสมอเตอร์ (Split Phase Motor) นั้นมีการตรวจเช็คดังนี้
1. การช๊อคลงการ์วของขดลวด
2. การช๊อคระหว่างขดลวด
3. ค่าความต่อเนื่องของขดลวด (ขดลวดขาดหรือไม่)
4. การหาขดลวดรัน (Run Winding) และสตาร์ท (Start Winding)

 

           ขั้นตอนการตรวจเช็ค การช๊อคลงการ์วของขดลวด
- ปรับมอเตอร์ตำแหน่งความต่อเนื่อง (เสียง)

 

 

 

-นำปลายสายใดสายหนึ่งมิเตอร์จ้ำที่ตัวมอเตอร์
-นำปลายสายอีกของมิเตอร์จ้ำที่สายไฟที่ออกมาจากมอเตอร์ที่ละเส้น

   

   

รูปแสดง การตรวจเช็ค การช๊อคลงการ์วของขดลวด


ค่าความต้านทาน จะต้องไม่ขึ้น (ไม่มีเสียงจากมิเตอร์) แสดงว่า ขดลวดไม่มีการช๊อคลงการ์วของขดลวด

 

           ขั้นตอนการตรวจเช็ค การช๊อคระหว่างขดลวดและค่าความต่อเนื่องของขดลวด (ขดลวดขาดหรือไม่)

-ปรับมอเตอร์ตำแหน่งความต่อเนื่อง (เสียง)

 

 
-นำปลายสายใดสายหนึ่งมิเตอร์จ้ำที่สายไฟที่ออกมาจากมอเตอร์เส้นใดเส้นหนึ่งค้างไว้
-นำปลายสายอีกของมิเตอร์จ้ำที่สายไฟที่ออกมาจากมอเตอร์ที่ละเส้น

           
ถ้าผลที่ได้ คือค่าความต้านทาน จะต้องขึ้น (เสียงจากมิเตอร์) แสดงว่า ขดลวดไม่มีขาดของขดลวดและ อีก 2 นั้น ค่าความต้านทาน จะต้องไม่ขึ้น (ไม่มีเสียงจากมิเตอร์) แสดงว่า ขดลวดไม่มีการช๊อคระหว่างขดลวด

 

รูปแสดง ค่าความต้านทาน แสดงว่า ขดลวดไม่มีขาดของขดลวด

    
รูปแสดง ค่าความต้านทาน แสดงว่า ขดลวดไม่มีซ๊อตระหว่างขดลวด


-ย้ายปลายสายใดสายหนึ่งมิเตอร์จ้ำที่สายไฟที่ออกมาจากมอเตอร์เส้นที่ไม่มีค่าความต้านทานใดเส้นค้างไว้
-นำปลายสายอีกของมิเตอร์จ้ำที่สายไฟที่ออกมาจากมอเตอร์ที่ละเส้น

            ถ้าผลที่ได้ คือค่าความต้านทาน จะต้องขึ้น (เสียงจากมิเตอร์) แสดงว่า ขดลวดไม่มีขาดของขดลวดและ อีก 2 นั้น ค่าความต้านทาน จะต้องไม่ขึ้น (ไม่มีเสียงจากมิเตอร์) แสดงว่า ขดลวดไม่มีการช๊อคระหว่างขดลวด

 

รูปแสดง ค่าความต้านทาน แสดงว่า ขดลวดไม่มีขาดของขดลวด

   
รูปแสดง ค่าความต้านทาน แสดงว่า ขดลวดไม่มีซ๊อตระหว่างขดลวด

 

             การหาขดลวดรัน (Run Winding) และสตาร์ท (Start Winding)
             การหาขดลวดรัน (Run Winding) และสตาร์ท (Start Winding) นั้น เราสามารถหาได้จากขั้นตอนการตรวจเช็ค การช๊อคระหว่างขดลวดและค่าความต่อเนื่องของขดลวด (ขดลวดขาดหรือไม่) ได้เลยโดยที่
-ขดลวดรัน (Run Winding) จะมีค่าความต้านทานต่ำ
-ขดลวดสตาร์ท (Start Winding) จะมีค่าความต้านทานสูง

 

 

รูปแสดง ค่าความต้านทานขดลวดรัน (Run Winding) ในที่นี่ค่าความต้านทานคือ 7 โอมห์

 
รูปแสดง ค่าความต้านทานขดลวดสตาร์ท (Start Winding) ในที่นี่ค่าความต้านทานคือ 8 โอมห์ 

คลิป ตรวจเช็คมอเตอร์ไฟฟ้าชนิด 1 เฟส (4 สาย)

 

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=YIc8N_pkwVQ&t=3s