หัวปรับความดันก๊าซหุงต้มทำงานอย่างไร

หัวปรับความดันก๊าซหุงต้มทำงานอย่างไร


หมวดหมู่:อยากรู้...เสาะหา...เล่าสู่... วันที่:2021-11-15

 หัวปรับความดันก๊าซหุงต้มทำงานอย่างไร

 

 

รูปแสดง ส่วนประกอบของหัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม ประเภทจานบิน หรือ แบบเกลียว

                ในที่นี่จะกล่าวถึงการทำงานของหัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม ประเภทจานบิน หรือ แบบเกลียว เท่านั้น การปรับความดันก๊าซหุงต้มเป็นการลดความดันของก๊าซหุงต้มที่ออกมาจากถัง โดยมีหลักการทำงานคือ


รูปแสดง การทำงานของหัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม (เปิดวาล์วที่ถังก๊าซ)

              จากรูป เมื่อเราเปิดวาล์วที่ถังก๊าซ ก๊าซก็จะผ่านท่อทางเข้า (ผ่านสปริง กรอง) มาที่เสื้อหรือตัวเรือน ผ่านบ่าวาล์ว ดันวาล์วให้เคลื่อนที่ขึ้น เป็นผลให้
             - กระเดื่องยกวาล์วถูกดันขึ้น
             - กระเดื่องยกวาล์วดึงแผ่นไดอะแฟรมเคลื่อนที่ลง
             - สปริงปรับแรงดันยืดตัว
             - ก๊าซจะผ่านออกไปที่ท่อทางออก
           
ตัวปรับแรงดัน และ ฝาครอบ ไม่มีการเคลื่อนที่

 


รูปแสดง ท่อทางเข้า

 


รูปแสดง ส่วนประกอบภายในเสื้อหรือตัวเรือน

 


รูปแสดง การทำงานของหัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม (ปิดวาล์วที่ถังก๊าซ)


            จากรูป เมื่อเราปิดวาล์วที่ถังก๊าซ ความดันจากถังก๊าซจะไม่มี เป็นผลให้
            - สปริงปรับแรงดันหดตัวกลับ
            - แผ่นไดอะแฟรมเคลื่อนที่ขึ้นพร้อมกระเดื่องยกวาล์ว
            - ส่งผลให้วาล์วปิดบ่าวาล์ว
            ตัวปรับแรงดัน และ ฝาครอบ ไม่มีการเคลื่อนที่

 

 

     
รูปแสดง ส่วนประกอบภายในเสื้อหรือตัวเรือน

 


รูปแสดง ส่วนประกอบภายในเสื้อหรือตัวเรือน

 

            ตัวปรับแรงดัน และ ฝาครอบ จะทำงาน (เคลื่อนที่เมื่อไร)


             ตัวปรับแรงดัน และ ฝาครอบ จะทำงานหรือเคลื่อนที่ ก็ต่อเมื่อเรามีการปรับตั้งความดันที่จะออไปยังหัวเตา (โดยปกติจะไม่นิยมปรับตั้งเพราะมีการปรับตั้งมาจากโรงงานผู้ผลิตเรียบร้อยแล้ว)
            ถ้าต้องการที่ปรับตั้งความดันนั้นสามารถทำได้คือ ถอดฝาครอบออก แล้วทำการขันตัวปรับแรงดัน คือ
            การเพิ่มความดัน ให้ทำการขันตัวปรับแรงดันทวนเข็มนาฬิกา (สปริงปรับแรงดันจะยืดตัว) ทำให้ความดันจากถังที่เข้ามาจะใช้แรงในการเปิดวาล์วน้อยลง ทำให้ความดันที่ออกจาไปยังหัวเตามีมากขึ้น
คลิปเกี่ยวกับหัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม ประเภทจานบิน หรือ แบบเกลียว

 

 

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=oFGp1TsAmUY