เรกกูเลเ ตอร์แก๊ส (Gas Regulator)

เรกกูเลเ ตอร์แก๊ส (Gas Regulator)


หมวดหมู่:เครื่องมือ วันที่:2019-01-15

 เรกกูเลเ ตอร์แก๊ส (Gas Regulator)

 
รูปแสดง ส่วนประกอบภายนอกของเรกกูเลเตอร์แก๊ส
 
                  ในที่นี้กล่าวถึงเรกกูเลเตอร์แก๊ส ที่ใช้ในงานช่างที่มีการตัด การเชื่อมเท่านั้น ซึ่งในการตัด การเชื่อม นั้นต้องใช้ความดันสูงกว่าความดันของแก๊สทั่วไป แก๊สที่ว่าถึงนี้คือ LPG เท่านั้น จากรูปข้างบนคือส่วนประกอบภายนอกของเรกกูเลเตอร์แก๊ส โดยที่ 
 
 
                ส่วนประกอบของเรกกูเรเตอร์แก๊ส ประกอบไปด้วย
 
1.ตัวเรือนหรือเสื้อเรกกูเรเตอร์แก๊ส เป็นที่รวมหรือตั้งส่วนประกอบอื่นๆ
2.ท่อต่อถังแก๊ส ด้านหนึ่งจะต่อกับเสื้อเรกกูเรเตอร์แก๊ส และอีกด้านหนึ่งจะต่อกับถังแก๊ส โดยมีน๊อตเป็นตัวขันต่อกับถังแก๊ส (เป็นเกลียวซ้ายคือหมุนเข้าหมุนทวนเข็มนาฬิกา) และที่ท่อทางเข้าจะมีตัวกรองสิ่งสกปรกอยู่
 
 
 
รูปแสดง ตัวกรองสิ่งสกปรก
 
3.เกจวัดความดันในถังแก๊ส  ภายในตัวเรือนของเร็กกูเลเตอร์จะมีช่องเชื่อมต่อกับท่อที่มาจากถังแก๊ส (ค่าความดันจะมากกว่าเกจที่ใช้งาน)
 
 
 
รูปแสดง ช่องเชื่อมต่อกับท่อที่มาจากถังแก๊ส
 
4..เกจวัดความดันใช้งาน  จะเป็นตัวบ่งบอกความดันที่ใช้งาน (โดยจะอาศัยความดันมาจากวาล์วปรับแรงดัน )ซึ่งจะมีช่องเชื่อมต่อกับท่อทางออก (แยกจากห้องที่มาจากถัง)
5.ท่อใช้งาน จะต่อกับสายและไปต่อกับหัวตัดแก๊สต่อไป
6.ชุดวาล์วปรับแรงดัน จะทำหน้าที่ปรับแรงดันตามที่เราต้องการ (หมุนทวนเข็มคือเพิ่มแรงดัน)โดยในชุดนี้จะประกอบไปด้วย
    -ฝาครอบ ในตัวฝาครอบนั้นจะทำป็นเกลียวสามารถแยกออกจาตัวเรือน และยังป็นที่อยู่ของด้ามปรับแรงดันและแกนวาล์วปรับแรงดัน
        -ด้ามปรับแรงดัน จะเป็นตัวหมุนบังคับแกนวาล์วปรับแรงดัน
 
 

รูปแสดง ฝาครอบแกนวาล์วปรับแรงดัน
 
       -แกนวาล์วปรับแรงดันจะเป็นตัวส่งต่อกำลังจากด้ามปรับแรงดับส่งต่อไปยังแหวนรองสปริง
       -แหวนรองสปริง ด้านหนึ่งจะนูนเพื่อสัมผัสกับร่องสปริงและอีกด้านจะเว้าเพื่อรับแรงจากแกนวาล์วปรับแรงดัน
       -สปริง เป็นตัวกำหนดว่าแรงดันที่จะออกไปใช้งานงานว่ามีค่าเท่าไรโดยอาศัยการปรับมาจากด้ามปรับแรงดัน
       -แหวนรองแผ่นไดอะแฟรม จะทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงของแผ่นไดอะแฟรมและเป็นตัวส่งต่อแรงไปยังก้านส่งในชุดต้อนแรงดันจากถังแก๊ส
       -แผ่นไดอะแฟรม จะทำหน้าที่ป้องกันการรั่วของแก๊สจากห้องที่ส่งไปใช้งานกับห้องบังคับแรงดัน(ชุดวาล์วปรับแรงดัน)
 
 
 
รูปแสดง ห้องบังคับแรงดัน(ชุดวาล์วปรับแรงดัน)
 
7.ชุดต้านแรงดัน  ในชุดนี้จะอยู่ในห้องที่เชื่อมต่อกันจากท่อต่อถังแก๊สและเกจวัดความดันในถังแก๊ส  โดยในชุดนี้จะประกอบไปด้วย
 
 
รูปแสดง ชุดต้านแรงดัน  
 
 
 
รูปแสดง ภายในชุดต้านแรงดัน  
 
         -น๊อตล๊อตจะทำหน้าที่เป็นช่องทางของก้านส่งและล๊อคส่วนประอบอื่นๆที่อยู่ในชุดต้านแรงดันรวมทั้งเป็นบ่าวาล์ว
         -ก้านส่ง จะสอดอยู่ในตัวน๊อตล๊อค ด้านบนจะสัมผัสกับแหวนรองแผ่นไดอะแฟรมของชุดปรับแรงดัน
และด้านล่างสวมอยู่กับวาล์ว
        -วาล์ว จะเป็นตัวเปิดให้จ่ายมากหรือน้อยโดยรับรอบแรงจากก้านส่ง(กรณีจ่ายมาก) และจ่ายน้อยหรือสปริง (รับแรงจากสปริง)
        -ปะเก็น ป้องกันการรั่วในห้องต้านแรงดัน
 
 
รูปแสดง ส่วนประกอบของเรกกูเลเ ตอร์แก๊ส (Gas Regulator)
 
สำหรับหลักการทำงานจะขอกล่าวในครั้งต่อไป