หน้าที่และการทำงานของ รีเลย์แบบ 4 ขา (Relay)

หน้าที่และการทำงานของ รีเลย์แบบ 4 ขา (Relay)


หมวดหมู่:ยานยนต์ Automotive วันที่:2018-08-11

รีเลย์แบบ 4 ขา (Relay) 

รูปแสดง รีเลย์
       
         รีเลย์ (Relay) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ ตัดต่อกระแสไฟและช่วยป้องกันอุปกรณ์ตัวอื่นๆไม่ให้เกิดความเสียหาย เมื่อระบบหรือวงจรมีอาการผิดปกติ โดยอาศัยการเหนี่ยวนำของขดลวด ซึ่งตัวรีเลย์จะมีส่วนประกอบหลักๆอยู่ 2 ส่วน คือ
 
        1.ขดลวด (Coil) จะทำหน้าที่ เป็นตัวเหนี่ยวนำหรือสร้างสนามแม่เหล็กไปกระทุ้งหรือดูดหน้าสัมผัสให้ต่อกัน

 

        2.หน้าสัมผัส (Contact) จะทำหน้าที่ ตัดต่อกระแสไฟ โดยอาอาศัยการเหนี่ยวนำของขดลวด ซึ่งหน้าสัมผัสจะมี 2 ส่วนคือ ตัวเคลื่อนที่ (จะมีกระแสไฟมารออยู่) และตัวอยู่กับที่ (รับกระแสไฟจากตัวอยู่กับที่และจากออก)
รูปแสดง ส่วนประกอบหลักๆของรีเลย์
 
         รีเลย์แบบ 4 ขา หรือ 4 ขั้วจะประกอบไปด้วยขั้วหรือขาดังนี้
 
1.ขั้วหรือขา ของขดลวดด้านไฟเข้า ส่วนมากจะใช้เลข 85
2.ขั้วหรือขา ของขดลวดด้านไฟออก ส่วนมากจะใช้เลข 86
3.ขั้วหรือขา ของหน้าสัมผัสตัวเคลื่อนที่ ส่วนมากจะใช้เลข 30
4.ขั้วหรือขา ของหน้าสัมผัสตัวอยู่กับที่ ส่วนมากจะใช้เลข 87
 
รูปแสดง ขั้วหรือขาของรีเลย์
รูปแสดง สัญลักษณ์ของรีเลย์แบบ 4 ขา
 
        รีเลย์แบบ 4 ขานี้ มีการออกแบบให้ใช้กับแรงดันต่างๆ และทนกระแสที่ต่างกันออกไป ซึ่งเราต้องเลือกมาใช้ให้ถูกกับวงจรหรือตัวอุปกรณ์ที่จะใช้ร่วมกับรีเลย์ โดยต้องคำนึงถึง
 
        1.แรงดัน ถ้าเราเลือกรีเลย์ที่มีแรงดันสูงกว่าแรงดันของวงจร รีเลย์ก็ไม่ทำงาน (เลือกรีเลย์ 24 V แต่วงจรเป็น 12 V) ในทางกลับกันถ้าเราเลือกรีเลย์ที่มีแรงดันต่ำกว่าแรงดันของวงจร รีเลย์อาจเสียหายได้ (เลือกรีเลย์ 12 V แต่วงจรเป็น 24 V)
        2.กระแส เราต้องเลือกกระแสให้เท่ากับตัวตัวอุปกรณ์ที่จะใช้ร่วมกับรีเลย์
          ซึ่งตัวครอบรีเลย์จะระบุค่าต่างๆนี้ไว้ ตัวอย่าง ดังรูป
รูปแสดง ค่าต่างๆของรีเลย์แบบ 4 ขา
 
          จากรูป รีเลย์ตัวนี้สามารถนำไปใช้งานได้ถึง 3 ลักษณะคือ
-ใช้กับแรงดัน 120 V (เมืองนอกจะใช้แรงดันนี้ 110 V) เป็นกระแสสลับ ทนกระแสได้ 10 A
-ใช้กับแรงดัน 250 V (เมืองไทยเราละจะใช้แรงดันนี้ 220 V) เป็นกระแสสลับ ทนกระแสได้ 5 A
-ใช้กับแรงดัน 28 V (ส่วนใหญ่ใช้แรงดันนี้ 24 V) เป็นกระแสตรง ทนกระแสได้ 5 A